FacebookPinterest

horticultural

ธาตุซัลเฟอร์

ธาตุซัลเฟอร์ หรือ กำมะถัน พืชใช้ธาตุกำมะถันในการสร้างโปรตีนจากกรดอะมิโน 3 ชนิด ที่มีกำมะถันเป็นส่วนประกอบคือ ซีสทีน (cytine) ซีสเทอิน (cytein) และเมไธโอนิน (methionine) พบว่า 7.2 เปอร์เซ็นต์ของธาตุกำมะถันที่พบในพืชอยู่ในกรดซีสทีน ธาตุกำมะถันช่วยพืชตระกูลถั่วให้สร้างปมขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพในการตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศ เป็นส่วนสำคัญของโอเอนไซม์ เอ (coenzyme A) วิตามินไทอามีน (thiamine) และไปโอติน (biotin)

          กำมะถันมีความจำเป็นต่อการสร้างโปรตีนพืช เป็นองค์ประกอบของวิตามินบางตัวที่มีผลทางอ้อมต่อการสร้างสีเขียวของพืช ซึ่งจะช่วยให้เกิดการหายใจและการปรุงอาหารพืช

ธาตุสังกะสี

บทบาทที่สำคัญ
1. เป็นตัวกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่สำคัญหลายชนิด
2. ทำหน้าที่กับการสังเคราะห์ trypophane ที่เป็นสารหลักในการสร้างออกซิน
3. เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีน
4. ช่วยให้พืชเจริญเติบโตแตกยอดได้สมบูรณ์

วิธีแก้ไข
    สำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในระยะสั้นอาจจะฉีดพ่อนด้วยสังกะสีซัลเฟต
ซึ่ง เวลาฉีดพ่นพยายามหลีกเลี่ยงการฉีดขณะที่กำลังแตกใบอ่อนเพราะอาจทำให้ใบอ่อน ไหม้ได้ ส่วนวิธีการแก้ไขในระยะยาว คือ ควรจะทำการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์โดยปรับดินให้อยู่ในสภาพเป็นกลางหรือ ค่อนไปทางกรดเล็กน้อย ประมาณ pH 6-7

ธาตุคลอรีน

ธาตุคลอรีน หน้าที่ของธาตุนี้ยังไม่มีรายงานที่แน่ชัด แต่พบว่าเมื่อพืชได้รักคลอรีนเพียงเล็กน้อย จะช่วยกระตุ้นให้การเจริญเติบโตดีขึ้น

ธาตุทองแดง

หน้าที่ของธาตุทองแดง มีผลต่อพืชโดยอ้อม ในการสร้างส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช ช่วยเพิ่มโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ และป้องกันการถูกทำลายส่วนสีเขียว นอกจากนี้ยังเป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยในพืช ซึ่งมีผลต่อการปรุงอาหารยังผลต่อการเจริญเติบโตและการติดดอกออกผล
          ธารุทองแดงยังช่วยให้ต้นพืชสามารถดูดเอาธาตุเหล็กที่อยู่ในดินนำมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
          อาการของพืชที่ขาดธาตุทองแดง

ธาตุโมลิบดีนัม

ธาตุโมลิบดีนัม เป็นสารเร่งปฏิกริยาในการเปลี่ยนไนเตรตเป็นไนไตรต์ ซึ่งมีความจำเป็นในพืชบางชนิด พืชตระกูลถ่วที่อยู่ร่วมกับแบคทีเรียไม่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาใช้ได้ในเมื่อขาดโมลิบดินัม นอกจากนี้ยังมีความสำคัญในการสร้างโปรตีน

บทบาทและหน้าที่ของธาตุโมลิบดินัมในพืชนั้น ทำให้การทำงานของธาตุไนโตรเจนในพืชสมบูรณ์ขึ้น นอกจากนี้ ยังจำเป็นสำหรับขบวนการสร้างสารสีเขียวและน้ำย่อยภายในพืชบางชนิดด้วย
          พืชที่ขาดธาตุนี้ ที่ใบแจะเป็นจุดด่างเป็นด้วย ๆ ในขนะที่เส้นใบยังเขียวอยู่ ถ้าขาดธาตุนี้รุนแรง ใบจะม้วยเข้าข้างใน ลักษณะที่ปลายและขอบใบจะแห้ง ดอกร่วง และผลเคระแกรนไม่เติบโตเต็มที่

ธาตุแมงกานีส

Description
ธาตุแมงกานีส เป็นองค์ปรกอบของเอนไซม์ที่ช่วยในการหายใจของพืช การสังเคราะห์วิตามิน และมีหน้าที่ในการสร้างคลอโรฟีลล์คล้ายๆ ธาตุเหล็ก และเพิ่มเป็นธาตุที่ใช้ช่วยในการเจริญของเนื้อเยื่อเจริญ ที่อยู่ตรงส่วนยอดและรากพืช ช่วยให้พืชนำแคเซียมไปใช้ได้ เมื่อพืชขาดธาตุนี้จำทำให้เซลล์ตายและมีสีดำ

ธาตุโบรอน

Description
เป็นธาตุที่มี ความสำคัญช่วยให้พืชเจริญเติบโตแตกยอดได้สมบูรณ์

Method
    สำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในระยะสั้นอาจจะฉีดพ่อนด้วยสังกะสีซัลเฟต
ซึ่ง เวลาฉีดพ่นพยายามหลีกเลี่ยงการฉีดขณะที่กำลังแตกใบอ่อนเพราะอาจทำให้ใบอ่อน ไหม้ได้ ส่วนวิธีการแก้ไขในระยะยาว คือ ควรจะทำการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์โดยปรับดินให้อยู่ในสภาพเป็นกลางหรือ ค่อนไปทางกรดเล็กน้อย ประมาณ pH 6-7

ธาตุเหล็ก

Description
เป็นธาตุที่มี ความสำคัญต่อการสร้างคลอโรฟิล ส่วนใหญ่แล้วมักจะพบว่าพืชที่ขาดธาตุเหล็กที่ปลูกอยู่ในดินที่มีสภาพเป็น ด่างหรือค่อนข้างจะเป็นด่าง เช่นดินหินปูน ดินทรายจัด หรือดินที่น้ำทะเลท่วมถึง เป็นต้น

Method
    วิธีการแก้ไขปัญหากับพืชที่ขดธาตุเหล็กในระยะสั้นนี้สามารถทำได้โดนการฉีด พ่นชนิดน้ำทางใบที่มีส่วนผสมของ ธาตุเหล็กซัลเฝตผสมอยู่ด้วย ซึ่งจะต้องฉีดพ่นสม่ำเสมอ จนกว่าพืชตะมีสภาพอยู่ในอาการปกติได้ ส่วนการแก้ไขระยะยาวสามารถทำได้โดยใส่ธาตุเหล้กคีเลทให้แก่ดินลงไปโดยตรงปี ละครั้ง...

ธาตุแคลเซียม

Description

เกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ของพืช บริเวณเนื้อเยื่อเจริญทั้งที่ปลายยอด ปลายราก ใบอ่อน การแตกตาอ่อนของกิ่ง ของตาดอก และการเจริญของดอกและผล ทั้งนี้เพราะธาตุแคลเซียมเป็นส่วนประกอบของสารแคลเซียมเพคเตตซื่งทำหน้าที่เชื่อมผนังเซลล์ของเซลล์สองเซล์เมื่อแบ่งเซลล์เรียบร้อยแล้ว ธาตุแคลเซียมเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์อัลฟาอะไมเลส เป็นสารกระตุ้นเอนไซม์ ช่วยคงสภาพโครงสร้างของเมมเบนรให้ทำงานปกติ ช่วยการดูดซึมธาตุโพแทสเซียม ช่วยลดพิษของธาตุแมกนีเซียม ทำให้พืชดูดซึมธาตุแมกนีเซียมมากขึ้น และน้ำธาตุแมกนีเซียมไปสร้างรงควัตถุคลอโรฟิลล์

ธาตุโพแทสเซียม

Description
เป็นธาตุที่ มีความสำคัญที่ช่วยสร้างอาหารให้กับลำต้น เพื่อช่วยให้ลำต้นเจริญเติบโต แข็งแรง ออกผลผลิตได้ดี และมีคุณภาพ ธาตุโปแตสเซียมนี้จะมีอยู่มากในดินเหนียว แต่จะมีอยู่น้อยในดินทรายหรือดินที่เป็นกรดมาก
กระตุ้นการทำงานของ enzyme ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆเช่น การสังเคราะห์แสง การหายใจ การสังเคราะห์แป้ง และ โปรตีน เป็นต้น
ควบคมแรงดันภายในเซลล์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดูดน้ำ และการปิดเปิดของปากใบ
รักษาระดับ pH ในเซลล์ให้อยู่ระหว่าง 6-7
กระตุ้นการทำงานของ nitrate reductase เพื่อเปลี่ยน NO3 เป็น NH4 สำหรับการสร้างกรดอมิโน และ โปรตีน

Pages