FacebookPinterest

rose-care

การเกิดกิ่งกระโดงของกุหลาบ

กิ่งกระโดง คือกิ่งที่เกิดจากตาที่แตกใหม่ ณ ตำแหน่งด้านล่างสุดตรงที่ติดตา จะมีขนาดกิ่งที่ใหญ่ ในกุหลาบโดยส่วนมากจะเกิดปีละครั้ง ถึงสองครั้งในช่วงต้นฤดูการเจริญเติบโตในแต่ละปี เพื่อแทนที่พุ่มที่เริ่มจะทรุดโทรมและเพิ่มประสิทธิภาพในการออกดอกและขยายพันธุ์

มีการทดลองเร่งการแตกกิ่งกระโดงมากมาย และมีขั้นตอนที่น่าจะเชื่อได้ว่ามีผลต่อการแตกกิ่งกระโดงดังนี้

Tags: 

ด้วงปีกแข็ง หรือด้วงกุหลาบ

ด้วงปีกแข็ง หรือด้วงกุหลาบ (rose beetle : Adoretus compressus)
พบระบาดรุนแรงในฤดูฝน
ลักษณะ
- การวางไข่: ตัวเมียวางไข่กองอยู่ประมาณ 20-50 ฟอง ตามกองซากพืช กองมูลสัตว์ หรือกองปุ๋ยหมักต่างๆ ไข่มีลักษณะเป็นวงรี เปลือกเรียนบสีขาวขุ่น ระยะไข่ประมาณ 6-9 วัน
- ช่วงเจริญเติบโต: ตัวหนอนเมื่อฟักออกจากไข่จะกินอาหารตามผิวดิน หรือกองมูลสัตว์ หนอนมี 3 วัย

Tags: 

โรคใบจุดสีดำ

โรคใบจุดเกิดจากเชื้อรา Diplorcarpon rosae เกิดได้ในเขตที่มีอากาศร้อน ชื้น เกิดได้ตลอดปี ทำให้ใบเหลืองร่วงหมดต้น แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว จะพบอยู่เสมอในกุหลาบที่ปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ โดยเฉพาะกุหลาบตัดดอกจะอ่อนแอต่อโรคนี้มากกว่ากุหลาบประเภทอื่น

ลักษณะอาการ

Tags: 

การเด็ดยอด ตัดกิ่ง และการโน้มกิ่งกุหลาบ

การแตกกิ่งก้าน และ การแตกตา การแตกของกิ่งกระโดงจะไปยับยั้งการแตกตาของกิ่งก้าน จะถูกควบคุมโดยความสมดุลระหว่างฮอร์โมนออกซิน และ ฮอร์โมนไซโทไคนิน โดยที่ออกซินจะยับยั้งการเจริญของตา ที่ซึ่งไซโทไคนินจะกระตุ้นการเจริญเติบโตของตา

Tags: 

ลม อุณหภูมิ ความชื้น สำหรับใบกุหลาบและความคงทนของดอกกุหลาบ

ลม อุณหภูมิ ความชื้นในอากาศมีผลโดยตรงกับการเปิดปิดปากใบของต้นกุหลาบ ซึ่งไปควบคุมการหายใจ การคายน้ำและการสังเคราะห์แสง พืชเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะที่ความกดอากาศที่ 1.0-0.2 kPa และความชื้นสัมพัทธ์ RH 55-90% ที่ 20 C.
แต่ความชื้นที่สูงขึ้นจะนำพาเอาโรคกุหลาบมาเยือน และในความชื้นที่ต่ำก็จะทำให้การคายน้ำเพิ่มสูงขึ้นแก่ใบ (water stress) จนทำให้ปากใบปิดตัวเองอัตโนมัติ ลดการหายใจและสังเคราะห์แสง

Tags: 

แสงแดด - ระยะการให้แสงแดด ความเข้มของแสงแดด และคุณภาพของแสงที่มีผลต่อกุหลาบ

ความเข้มแสงเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของต้นกุหลาบและดอกกุหลาบ ยิ่งความเข้มแสงมากก็ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสง การสร้างตาและ แตกกิ่งก้านสาขาของต้น เมื่อขาดแสงแดดการสร้างตาดอกและตาของกิ่งกระโดงจะถูกยับยั้ง

Tags: 

ปุ๋ยที่จำเป็น ปริมาณการให้ และเทคนิค สำหรับการปลูกกุหลาบ กุหลาบตัดดอก

ปุ๋ยที่ให้กุหลาบสามารถให้อยู่ในปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี และ ปุ๋ยที่ให้ทางใบ กุหลาบที่ผู้ปลูก ปลูกแล้วตายมันมี 2 สาเหตุหลักๆคือ 1.ลืมลดน้ำ ขี้เกียจให้น้ำ กุหลาบมักจะขาดน้ำ ใบเหลือง ใบร่วง 2.ผู้ปลูกที่ปลูกรอดมาได้ระยะหนึ่งจะเริ่มมือหนักในการให้ปุ๋ย เร่งต้นให้ออกดอก ต้นไม้ได้รับปุ๋ยมากเกินไป ใบไหม้ รากไหม้

Tags: 

การให้น้ำแก่กุหลาบ ช่วงเวลาที่เน้นการให้น้ำและช่วงเวลาที่ต้องเพิ่มสภาวะขาดน้ำ

ในสภาวะปกติการให้น้ำ กุหลาบต้องการน้ำประมาณ 1 ลิตรต่อวัน ให้น้ำแต่น้อย แต่ต้องให้น้ำลงลึกถึงราก น้ำที่ให้ต่อกุหลาบจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับฤดูกาล การให้น้ำเยอะ จะทำให้ดินเกิดความเป็นกรด และยังทำให้รากไม่ยอมเลื้อยลงลึกเพื่อหาแหล่งน้ำเอง การให้น้ำน้อยๆ บ่อยครั้งไม่ทำให้น้ำลงลึกถึงราก ให้น้ำวันละครั้ง หรือ สองวันครั้งพอ ถ้าต้นขาดน้ำจริงๆก็ปล่อยให้ต้นไม้ทำการปิดปากใบ หยุดการคายน้ำบ้าง ให้ลองเริ่มต้นรดน้ำในวันแรกและหยุดรดน้ำในวันถัดไป นับวันไปเรื่อยๆจนกว่าจะเจอวันที่ต้นเริ่มเหี่ยวเฉา โดยที่การเหี่ยวเฉาไม่ได้เหี่ยวจากการขาดน้ำจากแสงแดดจัดนะครับ นับจำนวนวันได้เท่าไหร่ ให้ลบไป 1 วั

Tags: 

ดินปลูก

 

ลักษณะของดินที่ใช้ปลูกกุหลาบ

ดินที่เหมาะสมที่สุดในการปลูกกุหลาบ คือ ดินร่วน หรือดินปนทรายที่มีอินทรีย์วัตถุ มีสภาพความเป็นกรดเป็นด่าง มีค่า pH ประมาณ 5.5-6.5 
ความสัมพันธ์ระหว่าง pH และความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร กุหลาบต้องการความชื้นในดินมาก และการระบายอากาศที่ดีในดิน การรักษาความชื้นในดินไม่ให้ระหายสู่อากาศมักจะใช้วัสดุคลุมดินป้องกัน

ดินหรือเครื่องปลูก

Tags: 

Pages